ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

พลับช็อคโกแลต

พลับช็อคโกแลต black sapote มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ไขมันต่ำ เป็น ผลไม้ที่ให้ประโยชน์และใช้เป็นยารักษาแผลได้ด้วย ปลูกได้แล้วทุกพื้นที่
ชื่อสามัญ ผลไม้ช็อกโกแลตพุดดิ้ง ช็อกโกแลตพลับและพลับดำ (อังกฤษ),
เป็นผลไม้มีถิ่นกำเนิดอยู่ตามแนวชายฝั่งทั้งสองแห่งของเม็กซิโกจากเมืองฮาลิสโกไปจนถึงเชียปัสเวรากรูซและยูคาทานและที่ราบลุ่มของอเมริกากลาง เป็นไม้โซนร้อน ต้นไม้มีการปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่กึ่งเขตร้อนและอบอุ่น ต้นไม้จะทนต่อพื้นที่ที่มีลมแรงปานกลาง และหากตัดแต่งเป็นประจำเพื่อจำกัดขนาดต้นไม้ เพื่อความโปร่ง แสงจะได้ส่องผ่านได้ทั่วถึง
ใบไม้ ใบเขียวชอุ่มตลอดปีมีลักษณะสลับเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนยาว 4-12 นิ้ว (10-30 ซม.) สีเขียวมันวาวและเขียวชอุ่ม ดอกไม้ เกิดขึ้นในซอกใบและอาจเป็นทั้งกระเทย (มีชิ้นส่วนของตัวเมียและตัวเมีย) หรือตัวผู้
ผลไม้ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-6 นิ้ว (5-15 ซม.) มีผลคล้ายลูกมะเขือเทศลูกใหญ่ๆ มีสีเขียวมะกอกเข้มกับเปลือกสีเขียวสดใสและมีสีเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ผลไม้ที่ยังไม่สุกจะเป็นสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม เมื่อสุกเต็มที่ เนื้อในผลเป็นสีน้ำตาลเข้มจัดจนถึงสีดำ อาจมี เม็ด 0 ถึง 5 เมล็ด แต่ผลสุกจะร่วงจากขั้วเร็ว อาจจะเก็บผลไม้ก่อนสุก ประมาณ 3-14 วันทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติ ให้ทยอยสุกหรือเมื่อผลไม้เริ่มนิ่มควรใช้ทันที หาไม่ใช้ทันที่ควรนำเนื้อผล แช่แข็งไว้ ค่อยนำมาใช้งานภายหลัง
อาจจะรับสดหรือเพิ่มเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มไอศกรีม เค้ก และผสมลงในนม รสชาติจะดียิ่งขึ้น ถ้าราด น้ำผึ้งวานิลลาครีม หรือน้ำส้ม เนื้อในผลสามารถนำไปผสมกับพายในมูส หรือสามารถนำไปอบลงในขนมปังได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องปรุงสำหรับไอศกรีมได้ ในเม็กซิโกเนื้อผลอาจถูกบดตีหรือผ่านกระชอน และผสมกับน้ำส้มหรือบรั่นดี แล้วเสิร์ฟพร้อมกับวิปปิ้งครีม หรืออาจผสมกับไวน์, อบเชยและน้ำตาลเพื่อทำเป็นขนมหวาน หรือผสมเนื้อผลกับนมและลูกจันทร์เทศ ปั่นเป็นเครื่องดื่ม ก็ได้
ผลของพลับช็อคโกแลต มีวิตามินซีสูงมากและเป็นแหล่งแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ดี มีไขมันต่ำมาก
เปลือกและใบบด ถูกนำมาใช้เป็นยาพอกแผลพุพองในฟิลิปปินส์ ใน Yucatan ใบมาต้มใช้เป็นยาสมานแผลและถูกนำมาใช้แก้โรค กลาก โรคเรื้อน และอาการคันผิวหนัง ได้
ฤดูที่สามารถให้ผลิผลิต ธันวาคมถึงกุมภาพันธ์หรือมิถุนายนถึงสิงหาคม ถ้ากลายเป็นต้นไม้ใหญ่ อาจผลิตได้หลายร้อยปอนด์ต่อปี
ความสูง กลาง 25-30 ฟุต (7.5-9 เมตร)
อัตราการเจริญเติบโต
ต้นไม้เติบโตอย่างรวดเร็ว เพียง 3-4 ปีของการเพาะปลูก
ความต้องการตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งในช่วง 2 ปีแรก เพื่อส่งเสริมการแตกแขนงของกิ่งและลำต้น ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ต้องการการตัดแต่งกิ่งเพื่อความสะดวกในการเก็บเกี่ยว และการเจริญเติบโตด้านข้าง
ความต้องการแสง
ควรปลูกไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่อง เพื่อการเจริญเติบโตและการผลิตผลไม้ที่ดีที่สุด
ดินที่เหมาะสมในการปลูก
เจริญเติบโตในดินร่วนทรายที่ชุ่มชื้น บนทรายที่ระบายน้ำได้ดี หรือหินปูน oolitic ทนแล้ง แต่ค่อนข้างทนต่อน้ำท่วม ค่า PH 5.5-7.0 ของดิน
การรดน้ำ
หมั่นรดน้ำ ทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง เป็นเวลา 2 เดือนแรก เมื่อต้นไม้มีอายุ 4 ปีขึ้นไปจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตจะเริ่มให้ผลผลิตมากขึ้น
มีต้นจำหน่ายแล้ว ราคา 990 บาท พร้อมส่ง เป็นต้นเพาะจากเมล็ด สูงประมาณ 38-45 ซม. มีแค่ 10 กระถาง สนใจทัก
ปล. ภาพผลและลูก ประกอบจากอินเตอร์เนต ภาพต้น ภาพถ่ายต้นจริง
CR. https://www.facebook.com/permalink.php?id=338820466515485&story_fbid=379838935746971

ทามาริลโล่



ทามาริลโล่:Tamarillo ผลไม้ชื่อแปลก รสชาติยิ่งแปลก

ตั้งแต่เข้าฤดูหนาวมาผลไม้และผักที่นิวซีแลนด์มีราคาค่อนข้างสูงมากๆค่ะ อย่าง มะเขือเทศ 1 กิโล ตกราวๆ250 บาทไทย พอใกล้ๆเข้าฤดูใบไม้ผลิราคาค่อยๆลงมาหน่อยคนที่นี้หันไปทานพักแช่แข็งกันเยอะ

ตอนที่ไปซื้ออาหารเข้าบ้าน เจอเจ้าผลไม้หน้าตาแปลกๆ ชื่อก็แปลกค่ะ มันมีชื่อว่า ทามาริลโล่ (Tamarillo) จริงๆแล้วเคยเห็นเจ้านี้มาก่อนแต่ไม่เคยลองซื้อทาน เพราะราคาคุณเธอสูงเอามากๆพอๆกับมะเขือเทศเลย แต่ด้วยความอยากลองก็เลยซื้อมาลองชิมค่ะ


คนนิวซีแลนด์นิยมรับประทานทามาริลโล่ ถ้าไม่ใช่กีวี(คนนิวซีแลนด์เรียกตัวเองว่า กีวี) ก็จะไม่รู้หรอกว่ามันรับประทานยังไง และคนส่วนใหญ่ก็ไม่ทานกัน พอไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าทามาริลโล่ พบว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจ

ทามาริลโล่มีลักษณะรูปไข่ทรงรี บ้างก็เรียกกันว่า ต้นมะเขือเทศ ส่วนในอินโดนีเซียเรียกว่า ***มะเขือดัตช์*** (Dutch eggplant)

((ไม่รู้ว่าทำไมเรียกแบบนั้นเนอะ อาจเป็นเพราะ อินโดนีเซีย เคยเป็นเมืองขึ้นของ เนเธอร์แลนด์ หรือเปล่า))

ทามาริลโล่เป็นพืชพื้นเมืองดั้งเดิมของประเทศเปรู ชิลี เอกาดอร์ โคลัมเบียและโบลิเวียนิยมปลูกในสวนผลไม้เล็กๆสำหรับคนท้องถิ่นปัจจุบันได้แพร่หลายไปยังหลายประเทศรวมถึงประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ปลูกทามาริลโล่ส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาญี่ปุ่น และยุโรป เป็นส่วนใหญ่

เริ่มแรกเดิมที ทามาริลโล่ รู้จักกันในนาม ต้นมะเขือเทศ ("tree tomato") ต่อมาภายหลังได้มีการโปรโมตและนิยมการปลูกมากขึ้นและเพื่อเป็นการแยกชื่อออกจากมะเขือเทศ จึงมีการเปลี่ยนชื่อจาก ต้นมะเขือเทศ("treetomato") เป็น ทามาริลโล่ (Tamarillo)

ทามาริลโล่(Tamarillo)มาจากผสมคำระหว่าง “tama” มาจาก tomatoแปลว่ามะเขือเทศ และAmarillo” ภาษาสเปนแปลว่าสีเหลือง ดังนั้นชื่อ ทามาริลโล่ (Tamarillo)เป็นชื่อที่รู้จักกันในนิวซีแลนด์ แต่ประเทศอื่นๆอาจจะรู้จักกันในนาม tree tomato

ลักษณะของทามาริลโล่มีความยาว 4-10 ซม มีหลากสี เช่น สีเหลือง สีแดง สีส้ม ตามแต่พันธ์

รสชาติสีแดงจะออกอมเปรี้ยวส่วนสีเหลืองจะออกหวาน ภายในมีเมล็ดมากกว่ามะเขือเทศทั่วไปสามารถรับประทานได้คล้ายๆกับเมล็ดในลูกกีวี

คุณค่าทางโภชนาการ
ลูกทามาริลโล่100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ โปรตีน วิตามินเอ ซี แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และเส้นใยอาหาร

วิธีการรับประทาน
ผ่าครึ่งลูกทามาริลโล่ใช้ช้อนคว้านรับประทานคล้ายกับการรับประทานกีวีคนนิวซีแลนด์นิยมรับประทานโดยการคว้านเอาเนื้อมาทาบนขนมปัง เป็นอาหารเช้า หรือนำไปทำเป็นแยมที่เรียกว่า Chutneys บางทีก็ใส่ในแกง ซุป เป็นต้นส่วนเปลือกไม่นิยมรับประทานเนื่องจากมีรสขม

CR. http://www.doa.go.th/sugarapple/index.php?option=com_content&view=article&id=47&Itemid=54


คิวาโน

ไม่ทราบจริง ๆ ว่า Horned Melon หรือ คิวาโน (Kiwano) จะถูกตั้งชื่อภาษาไทยไว้ว่าอย่างไรแล้วบ้าง เนื่องจากค้นไม่เจอข้อมูลจริง ๆ ดังนั้นทางเว็บไซต์ขออนุญาตที่จะเรียกตรงตัวตามคำแปลไปก่อนแล้วกันว่า แตงเขา
แตงเขา (Horned Melon)
Horned Melon มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cucumis metuliferus เป็นไม้เถาอยู่ในตระกูลเดียวกับแตง ,แตงกวา มีถิ่นกำเนิดจากประเทศทางแถบแอฟริกา ผู้คนทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกามักเรียกกันเล่น ๆ ว่า ผลไม้ปลาปักเป้า (blowfish fruit)
แตงเขา เป็นพืชรับประทานได้ ผลของมันมักจะถูกนำไปใช้ในการตกแต่งประดับอาหารอยู่เสมอ ผลสุกจะเป็นสีส้มเหลือง เนื้อข้างในเป็นสีเขียวมะนาวมีเมล็ดนิ่มๆจำนวนมากแบบแตงกวา ลักษณะเนื้อจะคล้ายเยลลี่
รสชาติของแตงเขา จะมีรสหวานผสมเปรี้ยว มีการเปรียบเทียบกันว่าเหมือนรสของ แตงกวา+กล้วย+มะนาว
การรับประทาน สามารถนำไปใช้ปรุงเป็นอาหารได้ แต่บางคนก็เลือกที่จะรับประทานผลสดที่ไม่ปรุง หรือนำไปปั่นดื่มเป็นน้ำผลไม้
การปลูก
Horned Melon ที่โตเต็มที่ มีความสูงประมาณ 1.5 เมตร ปลูกได้ในสภาพอากาศที่มีแสงอาทิตย์ (ไม่ชอบที่ร่ม)  สภาพดินที่เหมาะสมต้องชุ่มชื้น มีการระบายน้ำที่ดี ค่าPH เป็นกรด หรือ เป็นกลาง
แตงเขา (Horned Melon) คิวาโน (Kiwano)
ประโยชน์
- เผ่าโชนาใช้ยาต้มจากรากสำหรับการบรรเทาอาการปวดหลังคลอด
- มีรายงานการใช้รากต้มน้ำเพื่อรักษาโรคหนองใน
อ้างอิง : wikipedia Cucumis_metuliferus

กล้วยนาก

  1. กล้วยนากยักษ์ หรือ กล้วยนากทองผาภูมิ พบมีปลูกกันตามบริเวณชายแดนไทยพม่า จากแม่ฮ่องสอนลงมาจนถึงกาญจนบุรี กล้วยนากยักษ์ ชนิดนี้มีขนาดผลใหญ่กว่า และมีจำนวนหวีมากกว่ากล้วยนากทั่วไป ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 28-35 เซนติเมตร สูง 320-400 เซนติเมตร ส่วนของกาบลำต้นสีแดงคล้ำใบค่อนข้างยาว แผ่นใบกว้าง สีเขียวอมแดงค่อนข้างหนา ร่องใบกว้าง ก้านใบมีสีแดงอมชมพู ในหนึ่งเครือจะให้ 7-11 หวี
กล้วยนากทองผาภูมิ แต่ละหวีมี 14-18 ผล ขนาดของผลกว้าง 4.5 เซนติเมตร ยาว 18-12 เซนติเมตร ผลดิบมีสีแดงสดใส ผลแก่จัดสีเลือดหมู แต่เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม ลักษณะผลโค้งงอคล้ายกล้วยหอม ก้านยาวกว่ากล้วยนากทั่วไป เนื้อสีส้มค่อนข้างแข็ง รสหวานกลิ่นฉุนเมื่อสุกงอม ตั้งแต่ออกดอกจนถึงผลแก่ ใช้เวลาใกล้เคียงกับกล้วยนากทั่วไป คือ 95-110 วัน ผล ใช้รับประทานสด ส่วนผลดิบฝานบาง ๆ ทอด พร้อมอบเนยจะให้สีเหลืองเข้มน่ารับประทาน
CR. https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_19206

มัลเบอร์รี่

มัลเบอร์รี่ ผลไม้ลูกเล็กมากประโยชน์
               หนึ่งในผลไม้ที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้ที่รักสุขภาพ นั่นก็คือ ลูกหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ นั่นเองค่ะ ซึ่งนอกจากจะหารับประทานได้ง่าย และราคาที่ไม่แพงแล้ว ยังอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วยค่ะ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้า มัลเบอร์รี่ กันค่ะ

                มัลเบอร์รี่ เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ลูกหม่อน หรือหม่อนที่เราเคยเรียนกันว่าปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนั่นแหละค่ะ มัลเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น กรดโฟลิก ซึ่งพบว่าทารกที่เกิดจากมารดาที่ขาดกรดโฟลิก มีความเสี่ยงที่จะพิการทางสมองและประสาท ไขสันหลัง นอกจากนั้นยังพบสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น แอนโธไชยานิน เควอซิติน ที่มีส่วนลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย และในตำรับยาโบราณมีการใช้ผลหม่อนต้มบริโภคทั้งเนื้อและน้ำแก้โรคไขข้ออักเสบ ท้องผูก โลหิตจาง และขับเสมหะ ด้วยความที่เจ้ามัลเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายจึงมีส่วนช่วยในการ เพิ่มการทำงาน และลดการอักเสบของหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคทางระบบประสาทและสมองได้อีกด้วยค่ะ
ส่วนวิธีการทานนั้นเราสามารถทานได้ทั้งผลสด และแปรรูปเป็นเครื่องดื่มและแยมได้ค่ะ เพราะผลที่ยังไม่สุกจัดจะมีสีแดง มีรสเปรี้ยว แต่เมื่อสุกจัดจะมีสีม่วงออกไปทางดำจะมีรสหวานชุ่มคอดีค่ะ แถมยังให้พลังงานต่ำ เพียง 43 kcal ต่อ 100 กรัมเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แถมได้ประโยชน์มากมายอีกด้วยค่ะ
นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยจากหลายสถาบันในประเทศไทย อาทิเช่น มหาวิทยยาลัยทางการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตและงานวิจัยหลายประเทศ รับรองดังนี้ค่ะ
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชื่อ Anthyocyanin ซึ่งเป็นสารสีม่วงแดง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และป้องกันโรคมะเร็ง
  • มีวิตามินบี 6 ช่วยบำรุงเลือด ตับ ไต ลดการเกิดสิว ลดอาการปวดประจำเดือน
  • ป้องกันและยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันเส้นเลือดแตก สาเหตุของโรคอัมพฤก อัมพาต
  • มีวิตามินซี สูง ช่วยป้องกันหวัด โรคภูมิแพ้ โรคปอด วัณโรค ป้องกันเชื้อไวรัส
  • มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก (ป้องกันแสงสีน้ำเงินเข้าทำลายเลนส์ตา) บำรุงเหงือกและฟัน สร้างภูมิให้ระบบหายใจ บำรุงผิว ลดการอักเสบของสิว
  • มีกรดโฟลิค หรือวิตามินใบไม้ หรือวิตามินเอ็ม ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันทารกพิการ ช่วยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ หญิงแรกตั้งครรภ์เดือนแรกต้องการกรดโฟลิค
  • ช่วยแก้อาการเมาค้าง ผ่อนคลายความเครียด
  • ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย

ในปัจจุบันจึงมีการนำลูกหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ มาทำอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิด เพราะรสชาติ สีสัน และคุณค่าทางอาหาร ไม่ด้อยไปกว่าผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ ซึ่งมีราคาแพงเลยค่ะ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่มการทำงาน และลดการอักเสบของหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคทางระบบประสาทและสมองอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีน้ำมัลเบอร์รี่ ทั้งแบบธรรมดา และเข้มข้น ก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ง่ายและสะดวก สำหรับผู้บริโภคที่สนใจเลือกทาน และได้รับประโยชน์จากผลไม้ที่จิ๋วแต่อัดแน่นไปด้วยคุณประโยชน์ชนิดนี้ค่ะ และกลับมาติดตามบทความเพื่อสุขภาพดีๆแบบนี้ ได้ที่นี่ทุกวันกับ “ข้าวหงษ์ทองไลฟ์ ข้าวอร่อยเพื่อสุขภาพ” นะคะ

CR. http://www.hongthongrice.com/life/4586/26-01-59-mulberry-benefits/

เซอริโมยา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เชอริโมยา




น้อยหน่าเป็นผลไม้จำแนกอยู่ในวงศ์แอนโนนาซีอี้ (Annonaceae) ซึ่งถือเป็นพืชที่ค่อนข้างโบราณ พืชในวงศ์นี้มีประมาณ 50 สกุล สกุลที่มีความสำคัญในการปลูกทางการค้ามี 2 สกุล คือ แอนโนนา (Annona) ซึ่งมีประมาณ 100 ชนิด และโรลลิเนีย (Rollinia) มีประมาณ 50 ชนิด ชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า “Sugar apple หรือ Sweetsop” ภาษาจีนกลางเรียกว่า “ฟั้นลี่จือ” คนไต้หวันเรียกว่า “ชื่อเจีย” (เป็นภาษาจีนกลางเช่นเดียวกันแต่เรียกตามความนิยม ถ้าเรียกน้อยหน่าว่า “ซื่อเจีย” ที่เมืองจีนอาจสื่อกันไม่รู้เรื่อง) ถิ่นกำเนิดแถบทะเลคาริเบียน ปลูกได้ดีในเขตหนาวกึ่งร้อนและเขตร้อน เป็นพืชที่ไม่นิยมทำเป็นการค้าในลักษณะ scale ใหญ่ เนื่องจากการติดผลต่ำ ผลเล็ก แตกง่าย และอายุการเก็บรักษาสั้น ปัญหาเหล่านี้ต้องแก้ด้วยการหาสายพันธุ์ที่ผลมีอายุการเก็บรักษายาวนานมาปลูก และต้องใช้เทคโนโลยีทางด้านวิทยาหลังการเก็บเกี่ยว พืชที่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน ได้แก่ กระดังงา การะเวก นมแมว สายหยุด ลำดวน เป็นต้น ซึ่งเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย เกษตรกรส่วนใหญ่จะรู้จักน้อยหน่าเพียงชนิดเดียว ส่วนไม้ผลในสกุลน้อยหน่ามี 4 ชนิด คือ

          1. เซอริโมยา (cherimoya) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona cherimola Mill. ชื่อสามัญอื่นที่รู้จักกัน คือ cherimoyer, cherimola

          2. น้อยหน่า (sugar apple) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona squamosa L. ชื่อสามัญอื่นที่รู้จักกัน เช่น sweetsop เป็นต้น

          3. ทุเรียนเทศหรือทุเรียนน้ำ (soursop) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona muricate L. ชื่อสามัญอื่นที่รู้จัก เช่น Guanabana (สเปน) Graviola (โปรตุเกส) เป็นต้น

          4. น้อยโหน่ง (bullock’s heart) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona reticulate L. ชื่อสามัญอื่นที่รู้จักกัน เช่น Custard apple

          น้อยหน่าและน้อยโหน่ง เป็นผลไม้ที่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในเขตร้อน และถือกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา คือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ส่วนเชอริโมยาเจริญเติบโตได้ดีในเขตกึ่งร้อนหรือที่สูงของเขตร้อน ตั้งแต่ระดับ 800 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง เนื่องจากต้องการภูมิอากาศในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ผลสกุลน้อยหน่าที่นิยมปลูกเป็นการค้าอีกหลายชนิดที่ใช้รับประทานได้และปลูกเป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นสำหรับบริโภค เช่น

          1. อิลามา (llama) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Annona diversifolia Saff. ปลูกในเขตอเมริกากลาง

              2. ทุเรียนเทศภูเขา (mountain soursop) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Annona montana Macf. ปลูกในเขตประเทศเวเนซูเอลาและหมู่เกาะอินดิสตะวันตก

          3. ซอนโคยา (soncoya) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Annona purpurea Moc. ปลูกในเขตอเมริกากลาง

          4. โพเชเต้ (poshe-te) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Annona scleroderma Safford ปลูกในเขตตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกจนถึงกัวเตมาลา
          5. พอนแอปเปิล (pond apple) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Annona glaba L. ปลูกในเขตประเทศเวเนซูเอลา และหมู่เกาะอินดิสตะวันตก
          ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้เลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับ มีทั้งพวกผลัดใบและไม่ผลัดใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกเรียงเป็นวงวงละ 3 กลีบ มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่เหนือส่วนอื่นของดอก มีคาร์เพล (carpel) หรือช่องรังไข่จำนวนมาก ผลเป็นแบบมีเนื้อนุ่ม เป็นผลแบบผลกลุ่ม (aggregate fruit) ลักษณะที่สำคัญของไม้ผลสกุลน้อยหน่าที่นิยมปลูกเป็นการค้ามีดังนี้
น้อยหน่า
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 2-7 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาไม่เป็นระเบียบ เป็นไม้ผลัดใบ เนื้อไม้อ่อน ใบเป็นแบบใบเดี่ยวเรียงสลับบนกิ่ง ใบอ่อนมีขน ใบเป็นรูปหอก ดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ มีใบประดับ 1 อัน กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก เกสรเพศเมียมีช่องรังไข่ (carpel) จำนวนมาก ผลเป็นแบบผลกลุ่ม รูปร่างกลมหรือรูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 5–10 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่หัวกลับ เปลือกแข็งสีดำหรือสีน้ำตาล
เชอริโมยา 
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูงประมาณ 4-7 เมตร เป็นพืชผลัดใบ กิ่งและใบมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงแบบสลับ ใบเป็นรูปไข่หรือรูปหอก สีเขียวเข้ม กว้าง 10–13 เซนติเมตร ยาว 10–25 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 2-3 ดอก ออกที่มุมก้านใบยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลมีรูปร่างต่างๆ กันไป เช่น รูปกลม รูปหัวใจ รูปกรวย หรือบิดเบี้ยว ผลเรียบ มีรอยบุ๋มหรือตุ่มยื่นขึ้นกับสายพันธุ์ ผลมีน้ำหนัก 200-700 กรัม เนื้อสีขาวครีม เนื้อนิ่ม มีกลิ่นหอม มีเกล็ดประมาณ 20-40 เมล็ดต่อผล รูปร่างกลมยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และกว้าง 1 เซนติเมตร
ทุเรียนเทศ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ไม่ผลัดใบ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้นในด้านสูงมากกว่าด้านกว้าง ต้นสูง 5-7 เมตร ใบสีเขียวเข้ม ด้านบนใบเป็นมัน ก้านใบสั้น ใบเป็นรูปไข่ขอบขนานหรือทรงกระบอก ดอกมีขนาดใหญ่ 3.2-3.8 เซนติเมตร สีเหลืองครีม ผลมีทั้งรูปไข่ รูปกรวย และรูปหัวใจ สีเขียวเข้มเมื่อยังอ่อน และสีอ่อนลงเมื่อผลแก่ มีหนามนุ่มอยู่ทั่วผล ผลมีขนาดใหญ่หนัก 1-10 กิโลกรัม เนื้อผลมีสีขาว ฉ่ำน้ำ รสค่อนข้างเปรี้ยว มีเมล็ด 127-170 เมล็ดต่อผล เมล็ดยาว 1-2 เซนติเมตร สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ทุเรียนเทศและทุเรียนภูเขามีลักษณะต้นและดอกคล้ายกันมาก แต่ผลมีลักษณะต่างกันคือ ทุเรียนเทศภูเขามีผลรูปร่างกลม
น้อยโหน่ง
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 6-7.5 เมตร กิ่งอ่อนมีขน เป็นไม้ผลสกุลน้อยหน่าที่เจริญเติบโตแข็งแรงที่สุดในสกุลเดียวกัน นิยมปลูกเป็นการค้า ใบเป็นรูปหอกเรียวยาว ใบเรียบไม่มีขนที่แผ่นใบ มีสีเขียวเข้ม ก้านใบมีขนอ่อนนุ่ม ดอกมีรูปร่างคล้ายดอกน้อยหน่า ออกดอกเป็นกลุ่ม 2-10 ดอกต่อกลุ่ม ผลมีน้ำหนัก 0.1-1 กิโลกรัม ส่วนใหญ่ผลเป็นรูปหัวใจยาว 10-12 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีชมพูหรือน้ำตาลแดง ผิวผลมีเส้นเป็นลักษณะคล้ายร่างแหปกคลุม เนื้อผลสีขาว เมล็ดมีสีดำประมาณ 40 เมล็ดต่อผล
อะติโมยาเป็นลูกผสมระหว่างน้อยหน่ากับเชอริโมยา ลักษณะของน้อยหน่าและเชอริโมยาปะปนอยู่ในตัว และผันแปรไปตามการผสมแต่ละครั้งทำให้มีลักษณะพันธุ์ที่แตกต่างกันมากพอสมควร ส่วนใหญ่พันธุ์ที่คัดเลือกมาปลูกทางการค้าจะมีลักษณะที่ดีจากน้อยหน่าและเชอริโมยาอยู่ในตัว

CR .https://www.bansuanporpeang.com/taxonomy/term/11052